021 หมู่ 9 ตำบลน้ำอ้อม
อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
เปิดบริการ จันทร์ - ศุกร์
หยุด เสาร์ - อาทิตย์
สถานที่ติดต่อ :
เลขที่ 21 หมู่ 9 ถนนกันทรลักษ์-กันทรารมย์
ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
ช่องทางการติดต่อ :
โทรศัพท์ : 045-661607
มือถือ : 098-585-1152
Line ID : -
Facebook Fanpage : โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ กันทรลักษ์
สัญลักษณ์ | ความหมาย |
1. วงกลม | ความรัก ความสามัคคีของบุคลากรในสถาบัน |
2. มงกุฎ | ความเจริญ รุ่งเรือง เกียรติยศ ชื่อเสียงชองสถาบัน |
3. ไม้กางเขน | เครื่องหมายความรัก และความเสียสละของพระเยซูเจ้าในงานแห่งการไถ่บาปเพื่อความรอดพ้นของประชาชนทั้งมวล |
4. รวงข้าว | ผลผลิตจากการอบรมสั่งสอนที่เจริญเติบโตเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามที่แผ่ขยายไปสู่ผู้อื่น |
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
"โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์" เป็นโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ดำเนินกิจการโดย ซิสเตอร์คณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี
ตั้งอยู่ที่ 021 หมู่ที่ 9 ถนนกันทรลักษ์ – กันทรารมย์ ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33110
โทรศัพท์ 045-66107 โทรสาร 045-66107 เบอร์มือถือ 098-585-1152
E– mail
website https://mrs.ac.th
Facebook :: https://www.facebook.com/marieupathamkantralak
มีพื้นที่ 20 ไร่ โดยการบริจาคของนายสำเริง ประสิทธิศักดิ์ เป็นผู้มอบให้คณะซิสเตอร์รักกางเขนแห่งอุบลราชธานีเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของโรงเรียน ตามใบอนุญาตเลขที่ 7/2509 เปิดสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการและค่าธรรมเนียมการเรียน
โดยมีนางสาวประเทือง ภาษี เป็นผู้รับใบอนุญาต
นางสาวจอมศรี ศิลาโคตร เป็นผู้จัดการ
นางสาวบุญทัน อินทนงค์ เป็นครูใหญ่ ในขณะนั้น
โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ มีการปรับและเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเป็นไปตามลำดับจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ปีการศึกษา 2509
เปิดทำการสอนจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีครูจำนวน 5 คน นักเรียน 66 คน
อัตราค่าธรรมเนียมปีละ 150 บาท อัตราการจุนักเรียน 400 คน
ปีการศึกษา 2510
จำนวนครู 5 คน นักเรียน 116 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนผู้จัดการจาก นางสาวจอมศรี ศิลาโคตร เป็นนางสาวบุญทัน อินทนงค์
ปีการศึกษา 2511
จำนวนครู 6 คน นักเรียน 159 คน
ปีการศึกษา 2512
จำนวนครู 6 คน นักเรียน 206 คน
ปีการศึกษา 2513
จำนวนครู 9 คน นักเรียน 272 คน
ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียนระดับประถมต้นถึงชั้นประถมปลาย
จากเดิม ป.1 – 4 เป็นประถมประถมปลาย ป.5 – 7 โดยขยายปีละชั้น
ปีการศึกษา 2515
จำนวนครู 13 คน นักเรียน 455 คน
ขออนุญาตสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมไม้ 2 ชั้น 1 หลัง
ขออนุญาตบรรจุนักเรียนเพิ่มจากเดิม 400 คน เป็น 700 คน
และ อนุญาตเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียน ระดับประถมต้นปีละ 240 บาท ประถมปลาย ปีละ 375 บาท
ปีการศึกษา 2516
จำนวนครู 17 คน นักเรียน 525 คน
ปีการศึกษา 2517
จำนวนครู 19 คน นักเรียน 591 คน
ปีการศึกษา 2518
จำนวนครู 19 คน จำนวนนักเรียน 647 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียนระดับประถมศึกษาปีละ 300 บาท ระดับประถมปลายปีละ 500 บาท
ปีการศึกษา 2519
จำนวนครู 21 คน จำนวนนักเรียน 657 คน
ปีการศึกษา 2520
จำนวนครู 23 คน จำนวนนักเรียน 625 คน
ปีการศึกษา 2521
จำนวนครู 21 คน จำนวนนักเรียน 570 คน
ปีการศึกษา 2522
จำนวนครู 21 คน จำนวนนักเรียน 565 คน
ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการ – ครูใหญ่ จากนางสาวบุญทัน อินทนงค์ เป็น นางสาวทองพูน แก้วอุ่นเรือน
และ ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียนทุกระดับจาก ป.1 – 7 เป็นปีละ 500 บาท
ปีการศึกษา 2523
จำนวนครู 20 คน จำนวนนักเรียน 535 คน
ปีการศึกษา 2524
จำนวนครู 18 คน จำนวนนักเรียน 625 คน
ปีการศึกษา 2525
จำนวนครู 20 คน จำนวนนักเรียน 524 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียนได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียน
ระดับอนุบาลเดิม 500 บาท เป็นปีละ 1,200 บาท
ระดับประถมเดิม 500 บาท เป็นปีละ 700 บาท
ปีการศึกษา 2526
จำนวนครู 20 คน จำนวนนักเรียน 524 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการ – ครูใหญ่ จากนางสาวทองพูน แก้วอุ่นเรือน เป็น นางสาวทองม้วน อรรคเพช
ปีการศึกษา 2527
จำนวนครู 21 คน จำนวนนักเรียน 554 คน
ได้เปลี่ยนแปลงเจ้าของจาก นางสาวประเทือง ภาษี เป็น นางสาวทองม้วน อรรคเพช
ปีการศึกษา 2528
จำนวนครู 24 คน จำนวนนักเรียน 620 คน
และขออนุญาตการบรรจุนักเรียน 400 คน เป็น 700 คน
ปีการศึกษา 2529
จำนวนครู 23 คน จำนวนนักเรียน 556 คน
ปีการศึกษา 2530
จำนวนครู 24 คน จำนวนนักเรียน 704 คน
ปีการศึกษา 2531
จำนวนครู 24 คน จำนวนนักเรียน 788 คน
ได้ขออนุญาตสร้างอาคารคอนกรีตเสริมไม้ 1 หลัง จำนวน 10 ห้องเรียน
และ ขยายความจุนักเรียนจาก 700 คน เป็นไม่เกิน 1,060 คน
ปีการศึกษา 2532
จำนวนครู 26 คน จำนวนนักเรียน 846 คน
ปีการศึกษา 2533
จำนวนครู 26 คน จำนวนนักเรียน 920 คน
ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียนจากอนุบาล 2 เป็นอนุบาล 3
ปรับค่าธรรมเนียมการเรียน ระดับอนุบาล เดิมปีละ 1,200 บาท เป็นปีละ 1,320 บาท
ระดับประถมศึกษาเดิม 700 บาท เป็นปีละ 755 บาท
ได้รับอนุญาตสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 1 หลัง
ปีการศึกษา 2534
จำนวนครู 30 คน จำนวนนักเรียน 1,159 คน
ปีการศึกษา 2535
จำนวนครู 35 คน จำนวนนักเรียน 1,060 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียนระดับประถมเดิม 755 บาท เป็นปีละ 1,000 บาท
ปีการศึกษา 2536
จำนวนครุ 38 คน จำนวนนักเรียน 1,159 คน
ปีการศึกษา 2537
จำนวนครู 39 คน จำนวนนักเรียน 1,165 คน
ปีการศึกษา 2538
จำนวนครู 37 คน จำนวนนักเรียน 1,275 คน
ได้สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง มี 18 ห้องเรียน
และเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียน ดังนี้
ระดับอนุบาล 1 เดิมเก็บปีละ 1,320 บาท เป็นปีละ 4,200 บาท
ระดับอนุบาล 2 – 3 เดิมเก็บปีละ 1,320 บาท เป็นปีละ 1,518 บาท
ระดับชั้น ป.1 – 6 เดิมเก็บปีละ 1,000 บาท เป็นปีละ 2,000 บาท
และ ได้อนุญาตขยายความจุนักเรียนจาก 1,060 เป็น 2,000 คน
ปีการศึกษา 2539
จำนวนครู 40 คน นักเรียน 1,300 คน
ปีการศึกษา 2540
จำนวนครู 40 คน จำนวนนักเรียน 1,422 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการเรียน ระดับอนุบาล 1 จาก 4,200 บาท
และ ระดับ ป. 1 – ป. 6 จากปีละ 1,150 บาท เป็น ปีละ 4,668 บาท
ปีการศึกษา 2541
จำนวนครู 45 คน จำนวนนักเรียน 1,430 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนครูใหญ่จากนางสาวทองม้วน อรรคเพช เป็น นางสาวลัดดา วงศ์ศรีแก้ว
รื้อถอนอาคาร 1 หลัง และ สร้างอาคารใหม่ (อาคารปีติการุญ) เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น 1 หลัง จำนวน 16 ห้องเรียน ห้องประกอบการ 13 ห้อง ชั้นล่างใช้เป็นห้องประชุม
ปีการศึกษา 2542
จำนวนครู 42 คน จำนวนนักเรียน 1,465 คน
ได้ขออนุญาตเปลี่ยนผู้จัดการจาก นางสาวทองม้วน อรรคเดช เป็น นางสาวสมปอง มีปัญญา
และขออนุญาตก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 1 หลัง (อาคารเทเรซา)
ปีการศึกษา 2543
จำนวนครู 44 คน จำนวนนักเรียน 1,608 คน
ปีการศึกษา 2544
จำนวนครู 54 คน จำนวนนักเรียน 1,704 คน
ปีการศึกษา 2545
จำนวนครู 53 คน ครูที่ยังไม่บรรจุ 18 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,866 คน
ปีการศึกษา 2546
จำนวนครู 82 คน เป็นครูบรรจุ 63 คน ครูที่ไม่บรรจุ 20 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,829 คน - จัดทำห้องคอมพิวเตอร์อนุบาลเพิ่มอีก 1 ห้อง (จำนวน 31 เครื่อง)
ปีการศึกษา 2547
จำนวนครู 83 คน เป็นครูบรรจุ 63 คน ครูที่ยังไม่บรรจุ 20 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,829 คน
ปีการศึกษา 2548
จำนวนครู 78 คน เป็นครูบรรจุ 61 คน ครูที่ยังไม่บรรจุ 17 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,845 คน พนักงาน 24 คน
ปีการศึกษา 2549
จำนวนครู 84 คน เป็นครูบรรจุ 61 คน ครูที่ยังไม่บรรจุ 23 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,890 คน พนักงาน 24 คน
ปีการศึกษา 2550
จำนวนครู 84 คน เป็นครูบรรจุ 68 คน พี่เลี้ยง 19 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,851 คน พนักงาน 24 คน
ปีการศึกษา 2551
จำนวนครู 89 คน เป็นครูบรรจุ 63 คน พี่เลี้ยง 26 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,821 คน พนักงาน 30 คน
- ดำเนินการสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง และโรงอาหารพร้อมห้องประชุมหลังใหม่จำนวน 1 หลังต่อ
และดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
เปลี่ยนแปลงผู้จัดการจาก นางสาวอุดร อาษาสุข เป็น นางสาวสวาท วาปีสังข์
ปีการศึกษา 2552
จำนวนครู 92 คน เป็นครูบรรจุ 54 คน พี่เลี้ยง 39 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,762 คน พนักงาน 26 คน
ปีการศึกษา 2553
จำนวนครู 91 คน เป็นครูบรรจุ 54 คน พี่เลี้ยง 37 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,645 คน พนักงาน 30 คน
มีอาคารเรียนและอาคารประกอบการ ดังนี้
โรงเรียนดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
ปีการศึกษา 2554
จำนวนครู 88 คน เป็นครูบรรจุ 56 คน พี่เลี้ยง 32 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,645 คน พนักงาน 30 คน
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษเข้มข้น (Intensive English Program IEP) ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3
และดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
มีอาคารเรียนและอาคารประกอบการ ดังนี้
ปีการศึกษา 2555
จำนวนครู 87 คน เป็นครูบรรจุ 47 คน บุคลากรทางการศึกษา 16 คน ครูพี่เลี้ยง 24 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,642 คน พนักงาน 30 คน
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษเข้มข้น ( Intensive English Program IEP ) ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มเป็นสายชั้นละ 2 ห้องเรียน และดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
มีอาคารเรียนและอาคารประกอบการ ดังนี้
ปีการศึกษา 2556
จำนวนครู 88 คน เป็นครูบรรจุ 45 คน บุคลากรทางการศึกษา 14 คน ครูที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ 20 คน ครูพี่เลี้ยง 11 คน
จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,526 คน พนักงาน 30 คน
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 สายชั้นละ 2 ห้องเรียน
และดำเนินกิจการ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
มีอาคารเรียนและอาคารประกอบการ ดังนี้
ปีการศึกษา 2557
จำนวนครู 87 คน เป็นครูบรรจุ 58 คน บุคลากรทางการศึกษา 10 คน ครูที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ 7 คน ครูพี่เลี้ยง 12 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,445 คน พนักงาน 21 คน
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 สายชั้นละ 2 ห้องเรียน
และดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
มีอาคารเรียนและอาคารประกอบการ ดังนี้
ปีการศึกษา 2558
จำนวนครู 80 คน เป็นครูบรรจุ 64 คน บุคลากรทางการศึกษา 2 คน ครูที่ยังไม่บรรจุ 2 คน ครูพี่เลี้ยง 12 คน พนักงาน 25 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,315 คน
มีการเปลี่ยนแปลง
ผู้จัดการ จาก ซิสเตอร์อุดร อาษาสุข เป็น ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์
ผู้อำนวยการ จาก ซิสเตอร์บำเหน็จ หมายมี เป็น ซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม
ปีการศึกษา 2559
จำนวนครู 80 คน เป็นครูบรรจุ 64 คน บุคลากรทางการศึกษา 2คน ครูยังไม่บรรจุ 2 คน ครูพี่เลี้ยง 9 คน พนักงาน 25 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,320 คน
- ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์ เป็นผู้จัดการ
- ซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม เป็นผู้อำนวยการ
ปีการศึกษา 2560
จำนวนครู 86 คน เป็นครูบรรจุ 64 คน บุคลากรทางการศึกษา 2 คน ครูยังไม่บรรจุ 2 คน ครูพี่เลี้ยง 8 คน พนักงาน 25 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,245 คน
ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์ เป็นผู้จัดการ
ซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม เป็นผู้อำนวยการ
ปีการศึกษา 2561
จำนวนครู 80 คน เป็นครูบรรจุ 64 คน บุคลากรทางการศึกษา 2 คน ครูยังไม่บรรจุ 5 คน ครูพี่เลี้ยง 9 คน พนักงาน 24 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,262 คน
ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์ เป็นผู้จัดการ
ซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม เป็นผู้อำนวยการ
ปีการศึกษา 2562
จำนวนครู 80 คน เป็นครูบรรจุ 64 คน บุคลากรทางการศึกษา 2 คน ครูยังไม่บรรจุ 4 คน ครูพี่เลี้ยง 9 คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,251 คน
ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์ เป็นผู้จัดการ
ซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม เป็นผู้อำนวยการ
- จัดทำโครงหลังคาอัฒจรรย์เชียร์ จำนวน 4 หลัง ต่อเติมชายคาอาคารปิติการุณ เพื่อให้มีที่พักผ่อนร่มเงาสำหรับนักเรียน และจัดทำสร้างเด็กเล่นระดับอนุบาล
ปีการศึกษา 2563
จำนวนครู 84 คน เป็นครูบรรจุ 69 คน บุคลากรทางการศึกษา 2 คน ครูยังไม่บรรจุ 15 คน ครูพี่เลี้ยง 9 คน คน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,231 คน
ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์ เป็นผู้จัดการ
ซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม เป็นผู้อำนวยการ
- มีการปรับปรุงต่อเติมชายคาด้านหน้าอาคารมารีอา ความยาว 48 เมตร กว้าง 5 เมตร
- ทาสีอาคาร เปลี่ยนราวบันไดอาคารเรียนมารีอาและเปลี่ยนราวบันไดอาคารปิติการุณเป็นสเตนเลสด้วย
ปีการศึกษา 2566
มีซิสเตอร์ จำนวน 8 คน มีครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 68 คน
มีนักเรียน 1,108 คน
ซิสเตอร์สุดาพร บัวจูม เป็นผู้จัดการ
ซิสเตอร์ศรีสุดา ประผะลา เป็นผู้อำนวยการ
ซิสเตอร์สมปอง มีปัญญา เป็นแม่อธิการบ้าน
ซิสเตอร์สมจิต ช่างทำ หัวหน้าแผนกปฐมวัย
ซิสเตอร์ชุติมา วาปีทะ หัวหน้าแผนกมัธยมศึกษา
ซิสเตอร์เกศินี สีวงศักดิ์ หัวหน้าแผนกประถมศึกษา
ซิสเตอร์วราภรณ์ พันวิลัย หัวหน้างานอภิบาล
“หน่วยงานราชการ” คือองค์กรหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาประเทศและดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน ภายใต้การกำหนดแนวทางการบริหารงานโดยรัฐบาลและมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ทั้งนี้ภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานราชการนั้นได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน
การบริหารราชการ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมของส่วนราชการต่างๆ ของรัฐให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์การบริหารราชการจะมีลักษณะเป็นกิจกรรมในทางปฏิบัติที่ จำเป็นต้องอาศัยรัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการหรือการบริหารรัฐกิจ ดังนั้น เราจะเห็นว่าการบริหารราชการจึงมีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างมาก
การจัดการปกครอง (Governance) เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐช่วงทศวรรษ 1990 เป็นการวางแนวทางและจัดความสัมพันธ์ในการปกครองของภาครัฐใหม่เพื่อให้ระบบการเมืองเปิดกว้าง และกระจายอำนาจมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตัวแสดงนอกภาครัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนแปลงจากอำนาจที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาล ให้กระจายออกไปตามท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์กรท้องถิ่นที่ปกครองตัวเอง และลดขนาดของภาครัฐให้เล็กลงเพื่อความคล่องตัว
การวางหลักการจัดการปกครอง (governance) เข้ามาแทนที่แนวคิดว่าด้วยการปกครอง (government) โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 6 ด้านหลักคือ
การจัดการปกครองเป็นหลักการที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยในชื่อ “ธรรมาภิบาล” (good governance) หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2539-40 จากข้อบังคับในการกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และนำมาใช้ปฏิบัติผ่านกฎหมายหลักคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 โดยต้องการให้ภาครัฐบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จากองค์กรอิสระ และเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อีกทั้งยังต้องส่งเสริมการกระจายอำนาจด้วย
ความเข้าใจที่แตกต่างกันของคำว่าธรรมาภิบาล สามารถแยกได้เป็น 3 สำนัก คือ
ธรรมาภิบาลขององค์การระหว่างประเทศ ในฐานะเครื่องมือในการพัฒนา ทั้งการมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม การพัฒนาอย่างยั่งยืน และหลักตลาดเสรีธรรมาภิบาลของนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ มองว่าเป็นแนวทางของรัฐในศตวรรษ 21 ที่จำเป็นต้องทำงานในแนวระนาบมากขึ้น ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และปฏิสัมพันธ์กับภาคส่วนทางธุรกิจและสังคมมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการทำงานร่วมกันและการตรวจสอบ
ธรรมาภิบาลในฐานะมิติด้านการบริหาร จะเน้นในเรื่องของความรับผิดชอบต่อบรรษัทของผู้บริหาร ที่จำเป็นต้องมีให้กับผู้ถือหุ้น นิยามลักษณะนี้หลายครั้งเชื่อมโยงกับคำว่าบรรษัทภิบาล (Corporate governance)[3]
การจัดการปกครองที่ดี (good governance) หรือ ธรรมาภิบาล ที่ถูกแปลมาในภาษาไทยนั้นอาจถูกเรียกแตกต่างกันออกไปว่าเป็น “ธรรมารัฐ” (เช่นใน “ธรรมรัฐแห่งชาติ” ของธีรยุทธ บุญมี หรือ “ธรรมรัฐกับสังคมไทย” ของอานันท์ ปันยารชุน หรือ “แนวคิดและวาทกรรมว่าด้วยธรรมรัฐแห่งชาติ” ของนฤมล ทับจุมพล) หรือ “ธรรมราษฎร์” (เช่นใน “ธรรมรัฐและธรรมราษฎร์กับองค์กรประชาคม” ของอมรา พงศาพิชญ์) หรือ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” (ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันในทางกฎหมาย อันปรากฏอยู่ในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546)
อย่างไรก็ดี การนำหลักการจัดการปกครองมาใช้ในสังคมไทยกลับพบกับปัญหามากมาย ทั้งเรื่องการทำให้หลักการดังที่กล่าวมาเป็นการปฏิบัติจริง และปัญหาในระบบราชการ ไปจนถึงปัญหาการใช้คำที่สับสนไปมาระหว่างคำว่า “การจัดการปกครอง” คือ governance แต่ในความเข้าใจของสังคมไทยจะรวมถึง “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” และ “ธรรมาภิบาล” ซึ่งตามคำศัพท์คือคำว่า good governance แต่ตามความหมายสากล good governance เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ governance เท่านั้น ความสับสนนี้จึงเป็นเรื่องของการใช้คำ และปัญหาในเรื่องการแปลว่า “ธรรมาภิบาล” ทำให้สับสนว่าเกี่ยวข้องกับธรรมะหรือหลักศาสนาพุทธหรือไม่ ทั้งที่ความจริงแล้วหลักการจัดการปกครองแทบจะไม่มีส่วนใดเกี่ยวกับหลักศาสนาเลย
คำว่าการจัดการปกครองที่ใช้กันอยู่ในสังคมไทยมีปัญหาในสองด้าน กล่าวคือ ด้านแรกเป็นปัญหาของการแปลที่สับสบระหว่างคำว่าการจัดการปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และธรรมาภิบาล ส่วนปัญหาอีกด้านหนึ่งซึ่งสำคัญกว่า คือ ปัญหาในการนำไปปฏิบัติจริง การจัดการปกครองแทบจะยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทยที่รวมศูนย์อำนาจ ขาดความโปร่งใส ไม่มีกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล และท้องถิ่นยังไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง